MindMap Gallery Skin system - ผิวหนัง
This is a mind map about skin system. Psoriasis (psoriasis) Chronic dermatitis caused by rapid division of the skin. This causes T-cell lymphocytes to cause inflammation, resulting in a large, thick rash. It has a silver and red appearance all over the body. This disease can be of any age.
Edited at 2021-12-13 16:42:02ระบบผิวหนัง(Skin)
1. Psoriasis (โรคสะเก็ดเงิน)
ความหมาย
โรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดจากการแบ่งตัวผิวหนังอย่างรวดเร็ว ทำให้เม็ดเลือดขาว Lymphocytes ชนิด T-cell ทำให้เกิดการอักเสบเกิดเป็นผื่นหนาขาดใหญ มีลักษณะสีเงินและสีแดงทั่วร่างกาย โรคนี้เป็นได้ทุกเพศทุกวัย
สาเหตุ
1.ยังไม่พบปัญหาแน่ชัด 2.การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ 3.ปัจจัยภายนอกที่ช่วยกระตุ้น
ปัจจัยเสี่ยง
1.การแพ้แดดหรือถูกแดดมากเกินไป 2.อากาศที่หนาวเย็น 3.ความอ้วน 4.การหยุดยากินสเตียรอยด์ 5.การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน
อาการ
ผิวหนังมีลักษณะแดง ตกสะเก็ดเป็นขุยสีขาว เป็นผื่นแดงนูน
เกิดการอักเสบของผิวผิวแห้งมากจนแตกและมีเลือดออกเจ็บคันหรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณผิวหนังเล็บมือและเท้าหนาขึ้นมีรอยบุ๋มผิดรูปทรงปวดข้อต่อและมีอาการบวมตามข้อต่อ
การวินิจฉัย
ประวัติการเจ็บป่วย,ตรวจร่างกายและผิวหนังที่เกิดความผิดปกติ,Lab: เก็บตัวอย่างผิวหนังไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ,รายที่ข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน Psoriasis arthritis ที่มีอาการปวดข้อร่วมด้วย ต้องมีการตรวจเลือดหรือX-ray เพื่อหาชนิดโรคไขข้อกระดูกอื่นเพิ่มเติม ,
การรักษา
1. ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ 2.บระเทาอาการให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นลดการอักเสบและผิวหนังที่ตกสะเก็ดชะลอการเติบโตของเซลล์ผิวหนัง และขจัดผิวหนังที่เป็นแผ่นแข็ง 3.ผู้ป่วยที่อาการเล็กน้อยถึงปานกกลางรักษาด้วยยาภายนอกได้ 4. รายรุนแรงรักษาด้วยยากิน ยาฉีดหรือฉายแสงด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต
การดูแลตนเอง
ไม่เครียด ไม่สูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ อาบน้ำโดยใช้สบู่เด็กอ่อนผื่นน้อยกว่า 10% โดยประมาณ1ฝ่ามือ จะใช้ครีม Triamcinolone acetonide หรือ Coal tarหลีกเลี่ยงครีม สเตียรอยด์ ทาบริเวณที่เป็นปื้นหนา
2. Fungal Infection
Dermatophytosis (กลาก)
ความหมาย
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา genus Dermatophytes ได้แก่ Trichophyton sp., Microsporum sp. และ Epidermophyton sp. ซึ่งทำให้เกิดโรคที่ชั้นนอกสุดของผิวหนัง ผม ขน และเล็บที่มีเคอราตินซี เชื้อราจะใช้เป็นแหล่งอาหาร เนื่องจากเชื้อราเจริญอยู่ในผิวหนังชั้นดื่น จึงไม่ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่รุนแรง
ลักษณะทางคลินิก
ลักษณะผื่นเริ่มจาก macule ผื่นราบขนาดเล็กที่มีอาการคัน ต่อมาค่อยๆ ขยายออก โดยเป็นวงมีชอบเขตชัดเจน ตรงกลางหาย (central clearing) บริเวณขอบจะลามออก อาจมีตุ่มแดงหรือตุ่มใสร่วมกับขุย (active border) มีรูปร่างเป็นวงกลางหรือวงแหวน หรือมีหลายวงรวมกัน
การวินิจฉัย
1.Wood's lamp examinacion ในโรคกลากที่ศีรษะชนิด small spores ectothrix infection เมื่อใช้ Wood's lamp ส่องตรวจบริเวณรอยโรคจะพบการเรืองแสงสีเขียวเหลืองที่เส้นผมที่เป็นโรค (yellowish green fluorescense ส่วนชนิด endothrix infection จะไม่พบการเรืองแสง 2. Direct examination การขูดผิวหน้ามาส่องตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ด้วยน้ำยา KOH จะพบลักษณะของสายใยใสที่มีผนังกั้นและปล้องของเชื้อรา (hyaline septate hyphae and arthrospores)
การรักษา
ยาชนิดรับประทาน ส่วนมากออกฤทธิ์ fungistatic ได้แก่ griseofulvi, Ketoconazole, itraconazole, fluconazole
Tinea versicolor /Pityriasis versicolor (เกลื้อน)
ความหมาย
เป็นโรคติดเชื้อราที่ผิวหนังทั่วไปชนิดหนึ่ง เกิดจากราที่อาศัยอยู่ตามผิวหนัง ปรากฎในลักษณะเป็นดวงเล็ก ๆ ที่อาจมีสีเข้มหรือสีอ่อนกว่าสีผิวปกติบริเวณรอบ โดยมักเกิดขึ้นที่ลำตัวหรือต้นแขน และหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาก็จะสามารถรวมตัวกันและขยายเป็นดวงใหญ่ขึ้น จะแสดงอาการเมื่อมีเหตุชักนำหรือปัจจัยส่งเสริมทำให้เชื้อที่พบตามธรรมชาติ เปลี่ยนเป็นเชื้อก่อโรคขึ้น ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมัน เหงื่อออกมาก ใส่เสื้อผ้าอับชื้น ผู้ป่วยที่รับประทานหรือทานยาสเตียรอยด์ ภาวะทุพโภชนาการ เป็นต้น โรคนี้พบได้ในทุกวัย
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรามาลาสซีเขีย (Malassezia) ที่อยู่ตามผิวหนัง โดยปกตีผิวของคนเราส่านใหญ่จะมีเชื้อราชนิดนี้อยู่แล้ว แต่จะส่งผลให้ติดเชื้อก็ต่อเมื่อมีมากกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เชื้อรานี้เติบโตขึ้นก็ยังไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่ามีปัจจัยที่เป็นตัวเร่ง ได้แก่ -อากาศร้อนและชื้น -ผิวมัน -มีเหงื่อออกมากเกินไป -ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ -อยู่ในช่วงวัยรุ่น หรือช่วงวัย 20 ปีตอนต้น ทั้งนี้การเกิดของเกลื้อนไม่เกี่ยวกับการไม่รักษาสุขอนามัยแต่อย่างใด โดยสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และจะไม่แพร่ไปสู่ผู้อื่น เพราะคนส่วนใหญ่มักมียีสต์มาลาสซีเซียอยู่บนผิวหนังอยู่แล้ว
ลักษณะทางคลินิก
ลักษณะสำคัญของโรคเกลื้อนจะเริ่มจากเป็น macule ฝืนราบที่บริเวณรูขุมขน (hair follicle) ต่อมาจะลามเป็น patch หรือปิ้นขนาดใหญ่ใต้ มีรูปร่างเป็นวงกลมๆหลายวง หรือรูปร่างไม่แน่นอน โดยจะมีขุยละเอียด (branny scale) และมีสีต่างๆกัน คือ สีจางหรือขาว สีดำหรือสีน้ำตาล หรือแดง ผู้ป่วยมักไม่ค่อยมีอาการ แต่จะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องสีผิวต่าง ผื่นตามตัว พบบริเวณลำตัว เช่น หน้าอก ท้อง หลัง ไหล่ คอ แขนและขา
การวินิจฉัย
1 .Besnier's sign โดยใช้เล็บหรือปากกาขูดเบาๆที่รอยโรค จะเป็นขุยละเอียดสีขาว 2 .Wood's lamp examination การใช้ wood's lamp ส่องตรวจ บริเวณรอยโรคจะพบเรื่องแสงสีเหลืองทอง (golden yellow fluorescence) 3. Direct examination การขูดผิวหนัมาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์โดย น้ำยา KOH อาจใช้ร่วมกับการย้อมสีด้วย Parker ink จะเห็นเป็นสักษณะ ยีสต์เซลล์รูปร่างกลมหรือรี่และสายเป็นท่อนๆ
การรักษา
ชนิดยารับประทานKetoconazole ใช้ในรายที่เป็นมาก
ยาภายนอก Selenium sulfide ฟอกตัว 15-30นาที
การป้องกัน
เลี่ยงการเผชิญแสงแดด ทาครีมกันแดดทุกวันมีความมันน้อย เลี่ยงผลิตภัณฑ์ทาผิวที่มีส่วนของน้ำมัน
3. Herpes Zoster(งูสวัด)
ความหมาย
โรคเกิดจากติดเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับไวรัสที่เป็นสาเหตุโรคอีสุกอีใส ได้แก่Varicella zoster virus หรือ VZV
ทั้งนี้เมื่อโรคอีสุกอีใสหายแล้วจะยังคงมีเชื้อไวรัสนี้หลงเหลือซุกซ่อนอยู่ในปมประสาทต่างๆ
โดยเฉพาะของลำตัว รอเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ มีภูมิคุ้มกันต้านทานลดลง เช่น
สูงอายุ,พักผ่อนไม่เพียงพอ,มีโรคเรื้อรัง ต่างๆเช่นโรคมะเร็งกินยากดภูมิคุ้มกันต้านทาน โรคการปลูกถ่ายอวัยวะ
อาการ
มีอาการคล้ายใข้หวัดนำก่อน ประมาณ 2 - 3 วัน
ไม่มีไข้
ปวดท้อง
อ่อนเพลีย
มีไข้ (ไข้สูงหรือไข้ต่ำ)
เจ็บบริเวณติดเชื้อมาก (ยังไม่มีผื่นขึ้น) หลังจากนั้นจึงขึ้นผื่นปวดเมื้อยตัว
ลักษณะผื่น
เป็นผื่นแดง คัน เป็นทางยาว ไม่กว้างมาก เป็นทางยาวตมแนวเส้นประสาทของร่างกาย โดยมักเริ่มใกล้ๆ กลางลำตัว
แขน ขา ตา และหูมักเกิดเพียงด้านเดียวมักพบกลางลำตัว คันบริเวณผื่น เจ็บปวดมากอาจปวดแสบปวดร้อนร่วมกับอาการชาบริเวณนั้น
อาการปวดมักนำมาก่อนเกิดผื่นแดง และเมื่อเกิดผื่นแล้ว อาการปวดก็ยังคงอยู่ และบ่อยครั้ง เมื่อโรดและผื่นหายแล้วก็ ยังปวดได้ต่อเนื่อง อาจเป็นปีแต่ปวดมากหรือน้อยไม่เท่ากัน
การรักษา
1 .การใช้ยาแก้ปวดเป็นระยะๆ 2. ยาAntibiotic ชนิดรับประทานใช้ในรายติดเชื้อแบคทีเรีย 3. Acyclovir ยาต้านไวรัสทำให้ตุ่มน้ำ ผื่นหายเร็ว รับประทาน 800 mgวันละ 5ครั้ง นาน 7วัน หรือทาง IV 500 mg/1 ตร.ผิวหนัง ทุก 8 ชม. นาน 7วัน
สวมใส่เสื้อผ้าหลวมสบาย,ทาCalamine lotion บรรเทาอาการคัน ร่วมกับยาแก้คัน แก้ปวด ประคบเย็นบริเวณที่ปวด รีบพบเเพทย์เมื่อมีอาการดังนี้1. ปวดผื่นขึ้นมาก 2.ตุ่มพองเป็นหนอง 3.ไข้สูงหลังกินยา 1-2วัน 4.ปวดตา ตาแดง 5.ได้ยินลดลง สับสนแขนขาอ่อนแรง สมองอักเสบ
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการสัมผัส ผื่น ตุ่มโดยเฉพาะผู้ไม่เคยฉีดวัคซีนอีสุกอีใส
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกัน แนะนำผู้มีอายุ 50ปีขึ้นไปฉีดได้
4. Herpes simplex (เริม)
สาเหตุ
เกิดจาก HSV 2 ชนิด คือ HSV-1,HSV-2ทำให้เกิดโรคทั้งผิวหนังและเยื่อบุ
โดยโรคเริมบริเวณริมฝีปากและใบหน้าเกือบทั้งหมดเกิดจากHSV-1 อาจมี HSV-2 เป็นสาเหตุร่วมด้วยจำนวนน้อย โดยเฉพาะในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
อาการ
primary infection
ผื่นรุนแรงระยะเวลาที่เป็นนาน 2-3 สัปดาห์ มีอากทั่วไปร่วมด้วย ไข้,อ่อนเพลีย,ปวดศีรษะและต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงโต
recurrent infection
อาการและผื่นเพียงเล็กน้อย ในระยะเวลาสั้นๆ1 - 2 สัปดาห์ไม่มีอาการทั่วไปและต่อมน้ำเหลืองไม่โต
อาการรุนแรงเช่น เชื้อแพร่กระจายในอวัยวะภายใน ตับ ปอด ระบบประสาท ควรใช้ acyclovir ให้ทางหลอดเลือดดำ 5-10 mg/kg หยดใน1ชม.ให้ทุก 8 ชม. เป็นเวลา 5-7 วันและเปลี่ยนเป็นยากิน เมื่ออาการดีขึ้น
การรักษา
1.ยาต้านไวรัส ชนิดรับประทานสำหรับผิวหนังและเยื่อบุ 2. Acyclovir จัดเป็นยาต้านไวรัสชนิดแรกที่ได้ผลดีโดยเฉพาะ herpes viral infection 3.รักษาเฉพาะที่ใช้น้ำยาประคบ เช่น กรดบอริก 3% Burrow's solution ,1/2 st. alhocol, ZnSO4 4% ประคบวันละ 3-4ครั้ง ผื่นจะแห้งเร็ว เย็นสบายขึ้น แต่ประสิทธิภาพด้อยกว่ายากิน
5. Steven-Johnson syndrome
ความหมาย
ปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกายตอบสนองผิดปกติต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายหรือต่อการเจ็บป่วยต่างๆที่พบบ่อยเช่น จากยา จากเชื้อโรค และโรคมะเร็ง
สาเหตุ
1. ไม่ทราบสาเหตุ 2.ยารักษาโรคต่างๆ เช่น ยารักษาโรคเกาต์,ยาATBกลุ่มPenicilin,Sulfonamides,ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบ NSAIDs,ยาป้องกันการชัก 3.การติดเชื้อ 4. โรคมะเร็งเช่นมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่พบได้น้อย 5.พันธุกรรม 6.ภูมิคุ้มกันบกพร่องจะติดเชื้อเพิ่ม เช่น HIV,SLE
อาการและอาการแสดง
ผิวหนังจะมีผื่นขึ้น เริ่มต้นเป็นผื่นแบนเรียบ ต่อมาจะกลายเป็นผื่นนูนแดงเล็กๆและขยายออกเป็นผื่นขึ้นแดงขนาดใหญ่
1. บริเวณที่ผื่นมักจะเกิดคือ ฝ่ามือ ฝาเท้า หลังมือ หลังแขน หน้าขา แต่ไม่ว่จะเป็นบริเวณไหนก็สามารถเกิดขึ้นใด้ยกเว้นบริเวณหนังศีรษะ ซึ่งในภาวะคะตีเวนส์จอห์นสันพื้นที่ที่เกิดการหลุดของผิวหนังเมื่อเทียบกับพื้นที่ผิวหนังปกติจะต้องไม่เกิน 10% 2.แต่ถ้ามีการหลุดลอกของผิวหนังเกิน30%ของพื้นที่ร่างกายจะเรียกภาาะนี้ว่า Toxic epidermal necrolysis (TEN) 3. สำหรับกรณีที่พื้นที่ที่มีการหลุดลอกของผิวหนังอยู่ระหว่าง 10 - 30%เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะคาบเกี่ยว หรือ Overlapping Stevens-Johnsonsyndrome/ Toxic epidermal necrolysis (SJS/TEN)ผู้ป่วยที่เคยเกิดภาวะ Stevens-Johnson syndrome มาแล้วหนึ่งครั้งเมื่อเกิดขึ้นซ้ำอีกอาการจะรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆและมีอัตราดายที่สูงขึ้นเช่น ครั้งแรกอาจเกิดผื่นผิวหนังที่มีบริเวณพื้นที่แค่ 1 ฝ่ามือ แต่เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นเข้าร่างกายอีกครั้งผื่นจะกินพื้นที่เป็น บริเวณกว้างขึ้นเกิน 30% ของพื้นที่ร่างกายซึ่งเรียกว่าเกิดภาวะ Toxic epidermal necrolysis (TEN) ขึ้นมาแทน
แนวทางการรักษา
1.การหยุดยาที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะนี้ทั้งหมด 2.การให้ยาฆ่าเชื้อ 3.การรัาษาแบบประคับประคองตามอาการ 4.หากมีแผลในปากให้กลั้วปากด้วยยาชาก่อนรับประทานอาหาร
6. Cellulitis
ความหมาย
เป็นการอักเสบเฉียบพลันของผิวหนังในชั้น subcutaneous tissue
สาเหตุ
Streptococcus group A ซึ่งมักมาจากระบบทางเดินหายใจ ส่วนน้อยอาจเกิดจากเชื้อ Straptococcus aureus, pneumococci, gram negative bacilli
อาการ
1.ทางเข้าของเชื้อจะเห็นชัดเจน เช่น ทางบาดแผล 2.ผื่นแดงจัดลามออกอย่างรวดเร็ว รอบๆกดเจ็บคลำดูร้อนบวมแข็ง ขอบผื่นไม่ชัด ไม่ยกนูนจากผิวหนัง แต่จะค่อยๆกลืนไปกับผิวหนังปกติ 3.ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงโตกดเจ็บ ท่อน้ำเหลืองอักเสบเป็นเส้นสีแดง 4.อาจมีตุ่มน้ำ หรือฝี ซึ่งจะแตกและมีเนื้อตายด้วย มักมีไข้หนาวสั่น อ่อนเพลียด้วย
การวินิจฉัย
อาศัยลักษณะทางคลินิกร่วมกับ 1. เจาะเลือด พบ leukocytosis 2. เพาะเชื้อจากผื่นไม่ค่อยช่วยและทำได้ยาก อาจเพาะเชื้อ Streptococcus จากน้ำในเนื้อเยื่อ โดยใช้เข็มดูดจากบริเวณขอบผื่น culture positive ร้อยละ 10 ของผู้ป่วย ถ้าเพาะเชื้อจากเนื้อ biopsy ได้ผลบวกร้อยละ 20 แต่ถ้าดูดจากจุดที่อักเสบ มากที่สุดได้ผลบวกร้อยละ 50 3.เพาะเชื้อจากเลือด ในรายที่ลุกลามเป็น bacteremia
การรักษา
1.การผ่าฝี I&D (incision and drainage)ถ้ามี drainable abscess 2.Mild-moderate infection:กลุ่มยาต้านแบคทีเรีย doxycycline, clindamycin 7-10 วัน 3.Moderate-severe infection: ยาATB ที่รุนแรง vancomycin 15 mg/kg IV q I2 h 4.Sepsis add meropenam 500-1000 mg IV q 8 h หรือ imipenem 500 mg IV q 6 h