MindMap Gallery Mobile OS Evolution Map
This Edraw mind map template provides an overview of the evolution of mobile operating systems, including iOS, Android, BlackBerry OS, Windows Mobile, Windows Phone, Symbian, and Bada. It's designed for technology enthusiasts, educators, or students interested in the history and development of mobile technology. The mind map illustrates the transition and key milestones of each operating system.
Edited at 2024-02-27 15:29:31ระบบปฏิบัติการที่ใช้อุปกรณ์พกพา
Windows Phone
เป็นตระกูลระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือ ที่พัฒนาโดย และเป็นระบบปฎิบัติการยุคถัดไปของ แม้ว่าจะเป็นคนละระบบปฎิบัติการกันก็ตามมีวัตถุประสงค์หลักในตลาดผู้บริโภคทั่วไปโดยวางสถานะขั้วที่ 3 เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเป็นระบบที่ 3 ถัดจาก ของ และ ของ มากกว่ากลุ่มอุปกรณ์ตลาดองค์กรที่เป็นกลุ่มฐานผู้ใช้งานหลักของระบบวินโดวส์โมบายล์ เปิดตัวเป็นครั้งแรก ตุลาคม ค.ศ. 2010 (สาธารณะ) พร้อมกับการเปิดตัวอีกครั้ง (รีโอเพนนิ่ง) สำหรับรุกกลุ่มเป้าหมายเอเชียและจีนแผ่นดินใหญ่ที่เป็นตลาดกลุ่มเติบโตศักยภาพน่านน้ำใหม่(Blue Ocean)ที่ทางไมโครซอฟท์นั้นมั่นใจว่าสามารถเอาชนะทวงขึ้นเป็นผู้นำระบบปฎิบัติการชั้นนำในเอเชียและจีนแผ่นดินใหญ่ได้อีกครั้งในช่วงต้นปี ค.ศ. 2011
Windows mobile
ระบบปฏิบัติการที่เล็กกะทัดรัดประกอบด้วยชุดแอปฟลิเคชั่นพื้นฐาน สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ บน Microsoft Win32 API อุปกรณ์ที่ใช้ระบบวินโดวส์โมบายมี พ็อกเก็ตพีซี,สมาทโฟน,พอร์เทเบิลมีเดียเซ็นเตอร์ ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ เพื่อจะเป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่ทำงานอัตโนมัติอย่างแท้จริง มันถูกออกแบบให้มีระบบปฏิบัติการคล้ายวินโดวส์บนเครื่องพีซีทั่วไป เช่น จุดเด่น แบบอย่าง และความเกี่ยวข้องกัน ส่วนที่พัฒนาซอฟต์แวร์คือ ความพิเศษสำหรับวินโดวส์โมบาย ต้นกำเนิดของระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมบายคือ ระบบปฏิบัติการ Pocket PC 2000 วินดดวส์โมเบิลได้มีการอับเดทในเวลาต่อมา ซึ่งแนวโน้วตอนนี้คาดว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมบาย6 เป็นเวอร์ชันใหม่สำหรับปี2008
Symbian
ปัจจุบันมีบริษัทที่ถือหุ้นส่วนอยู่ได้แก่ อีริกสัน (15.6%) โนเกีย (47.9%) พานาโซนิก (10.5%) ซัมซุง (4.5%) ซิเมนส์ (8.4%) และ โซนี อีริกสัน (13.1%) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ซิมเบียนเริ่มใช้งานเมื่อในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541
Bada
เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือพัฒนาโดยซัมซุง โดยออกแบบมาสำหรับโทรศัพท์มือถือทั่วไปและโทรศัพท์แบบสมาร์ตโฟน คำว่า "บาดา" (바다) เป็นภาษาเกาหลีหมายถึง มหาสมุทร หรือ ทะเล บาด
Android
เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต(Tablet), คอมพิวเตอร์และเน็ตบุ๊กที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux) เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล ส่วนด้านลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์จะใช้ในลักษณะของการเปิดเผยเปิดเผยอย่างเสรี (Open Source) ทำให้นักพัฒนาโปรแกรมสามารถแก้ไข ดัดแปลงโค้ดแอนดรอยด์ได้อย่างอิสระ จึงทำให้ผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ต นิยมนําแอนดรอยด์ ไปใช้เป็นระบบปฏิบัติการเช่น HTC, Samsung ในตระกูล Galaxy
BlackBerry OS
เป็นสมาร์ตโฟนและโทรศัพท์มือถือโดยบริษัทแบล็คเบอร์รี่จำกัด (BlackBerry Limited) หรือเดิมคือบริษัทรีเสิร์ชอินโมชั่น (Reserch in Motion Limited - RIM) จากประเทศแคนาดา[2] แบล็คเบอร์รี่เครื่องแรกเริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2542 โดยมีลักษณะเป็นเพจเจอร์สองทาง[3] แบล็คเบอร์รี่รุ่นล่าสุดคือ แซด 30, แซด 10, คิว 10 และ คิว 5 มีลักษณะส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น โดยส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่โด่งดังและเป็นที่นิยมที่สุดของแบล็คเบอร์รี่คือแป้นพิมพ์คิวเวอตี้ ขณะที่แบล็คเบอร์รี่รุ่นใหม่ใช้ส่วนประสานงานผู้ใช้แบบหน้าจอสัมผัสและคีย์บอร์เสมือนดังเช่น ไอโฟน แบล็คเบอร์รีในช่วงแรก ผลิตเพจเจอร์ รุ่น Interactive Pager ซึ่งสามารถป้อนข้อความโดยไม่ต้องส่งไปยังโอเปอเรเตอร์ ซึ่งในเวลาต่อมาได้จุดประกายระบบ สมาร์ทโฟน[4]
IOS
ไอโอเอส (ชื่อเดิมคือ ไอโฟนโอเอส) คือระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (สมาร์ตโฟน,แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) พัฒนาและจำหน่ายโดยแอปเปิล เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2007 เพื่อใช้บนไอโฟน และได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้บนอุปกรณ์พกพาอื่น ๆ ของแอปเปิล เช่น ไอพอดทัช (ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007), ไอแพด (ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010), ไอแพด มินิ (พฤศจิกายน ค.ศ. 2012) และ แอปเปิลทีวี รุ่นที่ 2 (ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010) ไอโอเอสแตกต่างจากวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์และแอนดรอยด์ของกูเกิล ตรงที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้นำไอโอเอสไปติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ของแอปเปิล ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 แอปสโตร์ของแอปเปิลมีแอปพลิเคชันมากกว่า 2.1 ล้าน แอปพลิเคชัน และ 1 ล้านแอพที่ออกแบบมาเพื่อ ไอแพด แอปพลิเคชันเหล่านี้มียอดดาวโหลดน์รวมกันมากกว่า 1.3 แสนล้านครั้ง ไอโอเอสมีส่วนแบ่ง 28% ของส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาในไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นรองจากแอนดรอยของกูเกิลเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 ไอโอเอสมีส่วนแบ่งคิดเป็น 65% ของการบริโภคข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (ซึ่งรวม ไอพอดทัช และ ไอแพด) ในกลางปี ค.ศ. 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอสมากกว่า 410 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งาน จากการอ้างอิงจากงานแถลงเปิดตัวต่อสื่อโดยแอปเปิลใน วันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอส 400 ล้านตัวที่จำหน่ายไปแล้วในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012