Galería de mapas mentales Chiang Mai Rajabhat University under Lanna Rule
Chiang Mai Rajabhat University, situated in the historical city of Chiang Mai, has roots deeply embedded in the rich cultural and historical context of Lanna. This mind map aims to visually organize key elements within the historical period when Chiang Mai Rajabhat University operated under Lanna rule, providing insights into its founding, growth, and contributions to education during this era.
Editado a las 2023-08-18 07:08:52,ราชภัฏเฃียงใหม่ภายใต้ล้านนา
ชัยภูมิ ๗ ประการ กับการสร้างเมืองเชียงใหม
สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ
ก่อนกำเนิดอาณาจักรล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ดินแดนล้านนามีรัฐต่าง ๆ กระจายตามที่ราบระหว่างหุบเขาในภาคเหนือ เช่น แคว้นหริภุญไชยในเขตแม่น้ำปิงตอนบน แคว้นโยนหรือโยนกในเขตที่ราบลุ่มน้ำกก เขลางนครในเขตลุ่มน้ำวัง เมืองแพร่ในเขต ลุ่มน้ำยม เมืองปัวในเขตลุ่มน้ำน่าน และเมืองพะเยาในเขตลุ่มน้ำอิงในบริเวณแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน มีพัฒนาการเป็นรัฐขนาดเล็กหรือรัฐชนเผ่าเกิดขึ้น และพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าโบราณ ๒ กลุ่ม คือ ลัวะ และ เม็ง
บทที่2
ล้านนา
ล้านนา: เมืองสิบแสนนา “ทสลกเขตนคร”
ล้านนา: เมืองสิบแสนนา “ทสลกเขตนคร”
อาณาจักรล้านนา: พระเจ้ากือนา(พ.ศ.1896-1928)
กือ หมายถึง ร้อยล้าน, กือนา หมายถึง ร้อยล้านนา
พระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1984-2030): ท้าวล้านนา พระยาล้านนา ชาวล้านนา
พระเจ้าสามฝั่งแกน (พ.ศ.1945-1984): ล้านนาเชียงแสน ล้านนาเชียงใหม่
ตำนานสุวรรณคำแดง: อาณาจักรล้านนา
๑.เคยมีกวางเผือกสองตัวแม่ลูกเคยมาอาศัยอยู่ที่นี้และมีคนพากันมาสักการบูชาเป็นอันมาก ๒. มีฟาน (เก้ง) เผือกสองแม่ลูกมาอาศัยและได้ต่อสู้กับฝูงสุนัขของพราน ซึ่งตามเสด็จพระเจ้ามังรายมา ๓. ได้เห็นหนูเผือกพร้อมด้วยบริวาร 4 ตัว วิ่งเข้าโคนต้นไม้นิโครธ (ไม้สูง) ๔.พื้นที่สูงทางทิศตะวันตกเอียงลาดไปทางทิศตะวันออกเป็นทำเลต้องด้วยลักษณะพื้นที่ที่จะสร้างเมือง ๕. มีน้ำตกไหลจากดอยสุเทพ โอบล้อมตัวเมืองไว้เป็นการสะดวกในการที่ชาวเมืองจะได้ใช้สอยบริโภค ๖. มีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองปรากฏว่า เคยเป็นที่เคารพสักการะของท้าวพระยาเมืองต่าง ๆ และขณะนั้นก็ยังเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน สามารถรองรับน้ำจากที่ต่าง ๆ ได้มากมายช่วยป้องกันน้ำท่วมและ ไว้ให้สัตว์กินหนองนี้เรียกว่าหนองบัว หรือหนองบัวเจ็ดกอ หรือหนองเขียวหรือหนองป่าแพ่ง ๗. แม่น้ำระมิงค์(แม่น้ำปิง) เป็นแม่น้ำที่เกิดจากเทือกเขาผีปันน้ำและบนเทือกเขามีดอยชื่อว่า “ดอยอ่างสลุง” ซึ่งถือว่าเป็นที่ สรงน้ำของพระพุทธเจ้าไหลผ่านตัวเมือง นับว่าเป็นมงคลแก่บ้านเมืองอีกประการหนึ่งด้วย
ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร (สมัยราชวงศ์มังราย) พ.ศ.๑๘๐๔-๒๑๐๑ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ดินแดนล้านนา ได้พัฒนาการปกครองจากแว่นแคว้น-นครรัฐมาสู่รัฐแบบอาณาจักรโดยมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง รัฐแบบอาณาจักรสถาปนาอำนาจโดยรวบรวมแว่นแคว้น-นครรัฐมาไว้ด้วยกันราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จากปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญคือ การสลายตัวของรัฐโบราณที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน ดังเช่น กัมพูชา ทวารวดี หริภุญไชย และพุกามการเสื่อมสลายลงของรัฐโบราณจึงเปิดโอกาสให้เกิดการสถาปนาอาณาจักรใหม่ของชนชาติไทย
สมัยสร้างอาณาจักร (พ.ศ. ๑๘๘๓๙-๑๘๙๘) การก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เป็นผลมาจากการรวมแคว้นหริภุญไชยเข้ากับแคว้นโยน ในสมัยของพระยามังรายปฐมกษัติรย์แล้วสถาปนาเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นศูนย์กลางการก่อตั้งเมือง เชียงใหม่หรือนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นสถาบันทางการเมือง ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรทั้งเรื่องการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
การสร้างเมืองเชียงใหม่ พระยามังรายเชิญพระยางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง มาร่วมกันพิจารณาทำเลที่ตั้ง พระยาทั้งสองก็เห็นด้วย และช่วยดูแลการสร้างเมืองเชียงใหม่ ด้วยเหตุที่พ่อขุนรามคำแหงมาร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่
เม็งชาติพันธุ์มอญโบราณที่ตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือมาช้านานและเป็นกลุ่มเดียวกับมอญในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาซึ่งลักษณะการตั้งถิ่นฐานมักจะกระจายตัวอยู่ตามที่ราบลุ่มน้ำปิง ดังจะสังเกตได้จากค าเก่าแก่ โบราณที่เรียก แม่น้ำปิง ว่า “แม่ระมิง” หรือ “แม่น้ำเม็ง” หมายถึงแม่น้ำที่มีชาวเม็งอาศัยอยู่ดังนั้นเม็งและลัวะจึงเป็นชนเผ่าโบราณที่เคยอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มน้ำปิงด้วยกัน
ลัวะชาวพื้นเมืองในกลุ่มมอญเขมรตั้งถิ่นฐานกระจายทั่วไปในภาคเหนือเลยไปถึงเมืองเชียงตุงเมืองยองและหุบเขาต่าง ๆ ชนเผ่าลัวะในบริเวณแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนเป็นชนเก่าแก่ที่อยู่มาช้านานก่อนที่ชนกลุ่ม อื่นจะเข้ามา ลักษณะทางสังคมมีความแตกต่าง ระหว่างชนชั้นคือ แบ่งคนออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มสามัญชนหรือไพร่ กลุ่มผู้ปกครอง มีหัวหน้าเผ่า ที่สืบเชื้อสายกันต่อมาเรียกว่า ซะมัง
• สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ • ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร (พ.ศ.๑๘๐๔-๒๑๐๑) • ล้านนาสมัยพม่าปกครอง (พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗) • ล้านนาสมัยเป็นเมืองประเทศราชของไทย (พ.ศ. ๒๓๑๗-๒๔๒๗)
การก่อสร้างอาณาจักรล้านนา
ดินแดนล้านนา เริ่มในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อสถาปนานครเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๙ นับถึงปัจจุบันเชียงใหม่มีอายุกว่า ๗๐๐ ปี การศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาตามพัฒนาการแบ่งได้ ดังนี
แกนหลัก
เชียงใหม่-ลุ่มแม่น้ำปิง
เชียงแสน-เชียงราย-ลุ่มแม่น้ำกก
ประวัติศาสตร์ล้านนา
อาณาจักรล้านนาผนวกดินแดนเมืองแพร่และน่านได้ในสมัยพระเจ้าติโลกราชและอยู่ในอาณาจักรล้านนาได้ไม่นานนักอาณาจักรล้านนาก็ล่มสลายลงในสมัยพม่าปกครองก็ใช้วิธีแบ่งแยกเมืองต่าง ๆ และด้วยเหตุผลดังกล่าวการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา จึงมีศูนย์กลางการศึกษาอยู่ที่เชียงใหม่ซึ่งถือได้ว่าเป็นเมืองหลวงแห่งล้านนา